วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ผังงาน

ผังงาน(Flowchart)

หลักการเขียนผังงานระบบ

ผังงานระบบ คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลำดับ หรือขั้นตอนในโปรแกรมรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นเอกลักษณ์ และแทนความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยทั่วไปผังงานคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
 1. ผังงานระบบ(System Flowchat)
เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารเบื้องต้น หรือสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ และเครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process – Output) ว่ามาจากที่ใดอย่างกว้าง ๆ จึงสามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้
2. ผังงานโปรแกรม(Program Flowchat) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ผังงาน
ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในจุดนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตามต้องการ ควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป

การใช้งานผังงานระบบ

เพื่อให้ทราบถึงความเกี่ยวพันของระบบตังแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ และผู้เขียนโปรแกรม จะไดทราบถึง ความสัมพันธ์ ของแผนกต่าง ๆ
ตัวอย่าง ผังงานระบบและผังงานโปรแกรมของการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม 100 รูป
51

53
54

ประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ

ผังงานระบบเป็นเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาลำดับขั้นตอนของโปรแกรมง่ายขั้น จึงนิยมเขียนผังงานระบบประกอบการเขียนโปรแกรม ด้วยเหตุผลดังนี้
1 คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานระบบได้ง่าย เพราะผังงานระบบไม่ขั้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
2 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับข้นตอนในการทำงาน ซึ่งน่าจะดีกว่าบรรยายเป็นตัวอักษร การใช้ข้อความหรือคำพูดอาจจะสื่อความหมายผิดไปได้
3 ในงานโปรแกรมที่ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้ผังงานระบบตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย ถ้ามีที่ผิดในโปรแกรมจะแก้ไขได้สะดวกและรวดเร็วขั้น
4 การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงานระบบ สามารถทำให้รวดเร็วและง่ายขั้น
5 การบำรุงรักษาโปรแกรมหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพถ้าดูจากผังงานระบบจะช่วยให้สามารถทบทวนงานในโปรแกรมก่อนปรับปรุงได้ง่ายขั้น

ข้อจำกัดของผังงานระบบ

ผู้เขียนโปรแกรมบางคนไม่นิยมการเขียนผังงานระบบก่อนที่จะเขียนโปรแกรมเพราะ
เสียเวลาในการเขียนเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ได้แก่
1 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมาระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับเครื่อง เพราะผังงานระบบไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เครื่องไม่สามารถรับและเข้าใจว่าในผังงานระบบนั้นต้องการให้ทำอะไร
2 บางครั้งเมื่อพิจารณาจากผังงานระบบ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ขั้นตอนการทำงานใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุก ๆ ขั้นนอนจะใช้รูปาภพหรือสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน
3การเขียนผังงานระบบเป็นการสิ้นเปลือง เพราะจะต้องใช้กระดาษและอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบการเขียนภาพ บางครั้งการเขียนผังงานระบบอาจจะต้องใช้กระดาษมากกว่า 1 แผ่นทั้ง ๆ ที่การอธิบายงานเดียวกันจะใช้เนื้อที่เพียง 3-4 บรรทัดเท่านั้น
4 ผังงานระบบจะมีขนาดใหญ่ ถ้าโปรแกรมที่พัฒนาเป็นงานใหญ่ ทำให้ผังงานระบบแลดูเทอะทะไม่คล่องตัว และถ้ามีการปรับเปลี่ยนผังงานระบบจะทำได้ยาก บางครั้งอาจจะต้องเขียนผังงานขั้นใหม่
5 ในผังงานระบบจะบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานว่าเป็นลำดับอย่างไร ปฏิบัติงานอะไรแต่จะไม่ระบุให้ทราบว่าทำไมจึงต้องเป็นลำดับและต้องปฏิบัติงานอย่างนั้น
6 ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ภาษาซี ผังงานระบบไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องการเขียนผังงาน
1. ข้อใดอธิบายความหมายของผังงานได้ถูกต้อง
ก.แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบการทำงานโปรแกรม
ข.แผนภาพแสดงการทำงานของระบบหรือโปรแกรม
ค.แผนงานแสดงลำดับขั้นตอนของระบบงานคอมพิวเตอร์
ง.แผนผังแสดงการทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์
2. ลักษณะของโครงสร้างผังงานมีกี่โครงสร้าง อะไรบ้าง
ก.2 โครงสร้าง คือ การทำงานแบบลำดับ และแบบทางเลือก
ข. 2 โครงสร้าง คือ การทำงานแบบลำดับ และแบบวนซ้ำ
ค.3 โครงสร้าง คือ การงานแบบลำดับ แบบทางเลือกและแบบวนซ้ำ
ง. 3 โครงสร้าง คือ การทำงานแบบลำดับ แบบทางเลือก และแบบทำในขณะที่
3. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของผังงาน
ก.ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานได้ง่าย ไม่สับสน
ข.ไม่สามารถตรวจสอบได้ และแก้ไขงานได้ยาก
ค.ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ง. สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานได้ง่าย
4. ข้อใดเป็นวิธีการเขียนผังงานที่ดี
ก.คำอธิบายในภาพจะยาวหรือสั้นก็ได้
ข. ทุกแผนภาพไม่ต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า – ออก
ค. ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ได้
ง. ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากล่างไปบน หรือจากขวาไปซ้าย 
5. การแสดงผลข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์คือสัญลักษณ์ในข้อใด
ก.Decision
ข.Manual Input
ค.Process
ง.Display
6. สัญลักษณ์ Connect คือสัญลักษณ์อะไร
ก.แสดงการประมวล
ข. แสดงจุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน
ค.แสดงจุดเริ่มต้นการทำงาน
ง. แสดงการรับข้อมูลเข้า
7. สัญลักษณ์ Process คือสัญลักษณ์อะไร
ก.แสดงจุดเริ่มต้นการทำงาน
ข. แสดงการรับข้อมูลเข้า
ค.แสดงการประมวล
ง. แสดงการตัดสินใจ
8. การเขียนผังงานโปรแกรมต้องเริ่มด้วยสัญลักษณ์ในข้อใด
ก.Manual Input
ข.Process
ค.Data
ง.Terminator
9. ถ้าต้องการกำหนดให้ตัวแปร A เป็นข้อมูลที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ ต้องใช้สัญลักษณ์ในข้อใด
ก. Data
ข. Display
ค. Process
ง. Manual Input
10. สัญลักษณ์ในข้อใด สามารถมีเพียงสัญลักษณ์เดียวเท่านั้นในผังงาน
ก.การตัดสินใจ
ข.การประมวลผล
ค. การรับค่าข้อมูล
ง.จุดสิ้นสุดของผังงาน



เฉลย

1.ข. แผนภาพแสดงการทำงานของระบบหรือโปรแกรม
2. ค.3 โครงสร้าง คือ การงานแบบลำดับ แบบทางเลือกและแบบวนซ้ำ
3.ข. ไม่สามารถตรวจสอบได้ และแก้ไขงานได้ยาก
4. ค. ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ได้
5. ง.Display
6. ข. แสดงจุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน
7.ค. แสดงการประมวล
8. ง.Terminator
9. ง.Manual Input
10. ง.จุดสิ้นสุดของผังงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น